วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เทคนิคฝึกลูกน้อยให้รักการอาบน้ำ

เคล็ดลับฝึกลูกน้อยให้รักการอาบน้ำเคล็ดลับฝึกลูกน้อยให้รักการอาบน้ำ
บ้านเราเป็นเมืองร้อน อากาศร้อนแบบนี้ยิ่งทำให้ลูกน้อยเหงื่อออกมาก ไม่สบายตัว งอแงง่ายเป็นที่สุด อย่างนี้จับอาบน้ำให้สดชื่นกันสักทีดีกว่า แต่เอ๊ะ?...เจ้าตัวเล็กบางคนเวลาลงอ่างอาบน้ำแล้วกลับยิ่งร้องงอแงหนักกว่าเดิม จนเป็นเรื่องน่าสงสัยว่าทำไมการอาบน้ำที่น่าจะทำให้สบายตัวกลับทำให้เจ้าตัวเล็กกลัวได้ขนาดนี้ อย่างนี้เรามาลองค้นหาสาเหตุเพื่อเปลี่ยนให้ลูกน้อยกลับมามีนิสัยรักการอาบน้ำกันดีกว่า
ค้นหาสาเหตุการไม่ชอบอาบน้ำ

การที่ลูกน้อยงอแงไม่ชอบอาบน้ำ อาจเกิดจากมีความหลังอย่างใดอย่างหนึ่งฝังใจ ทำให้เกิดความกลัวขึ้นเวลาถูกอาบน้ำ โดยที่คุณพ่อคุณแม่เองก็ไม่ทันคิดว่าสาเหตุเล็กๆ เหล่านี้จะบานปลายทำให้ลูกน้อยรู้สึกกลัวการอาบน้ำขึ้นจับใจ
  • แชมพูหรือสบู่เข้าตา เป็นสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เด็กส่วนมากกลัวการอาบน้ำ อาจเกิดจากความผิดพลาดหรืออุบัติเหตุในขณะสระผมหรือถูตัว ทำให้มีส่วนของแชมพูหรือสบู่กระเด็นเข้าดวงตาลูกน้อย ซึ่งไม่เป็นอันตรายหากล้างออกในทันที แต่ความแสบร้อนที่เกิดขึ้นกับดวงตาของลูกน้อยอาจทำให้ลูกกลัวการอาบน้ำไปเลย
  • น้ำร้อนเกินไป คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่มักจะผสมน้ำอุ่นให้ลูกอาบในอ่าง ซึ่งอาจใช้วิธีวัดความพอดีของอุณหภูมิด้วยการใช้มือแตะดูหรือหยดน้ำลงบนฝ่ามือ แต่ลืมนึกไปว่าฝ่ามือของคุณพ่อคุณแม่มีชั้นผิวหนังที่หนากว่าของลูกน้อย ทำให้น้ำที่คิดว่าอุ่นกำลังดีแต่อาจจะร้อนเกินไปสำหรับลูกน้อยก็ได้
  • น้ำเย็นเกินไป บางครอบครัวอาจไม่ชอบอาบน้ำลูกน้อยในอ่าง จึงใช้ฝักบัวหรือตักราดจากถัง ซึ่งน้ำที่ค้างอยู่ในท่อหรือในถังจะมีอุณภูมิที่เย็น แม้จะไม่ทำให้ลูกน้อยเป็นหวัด แต่ก็ทำให้ลูกน้อยสะดุ้งตกใจและรู้สึกกลัวการอาบน้ำ
  • เสียงท่อระบายน้ำ บงครั้งเวลาอาบน้ำให้ลูกน้อยที่พื้นห้องน้ำอาจมีท่วมน้ำขังอยู่ เนื่องจากมีเส้นผมไปอุดตันที่ท่อระบายน้ำ หรือบางบ้านที่มีอ่างอาบน้ำ เวลาที่เปิดจุกระบายน้ำออกจะเกิดเสียงดังทำให้ลูกน้อยรู้สึกตกใจกลัว
  • สำลักน้ำ โดยเฉพาะกับการอาบน้ำในอ่าง ซึ่งในกรณีที่คุณพ่อหรือคุณแม่ต้องอาบน้ำให้ลูกน้อยเพียงลำพัง ไหนมือหนึ่งจะต้องคอยประคองลูกอีกมือก็จะต้องหยิบเครื่องอาบน้ำ ทำให้เผลอปล่อยมือต่ำไปจนลูกสำลักน้ำจึงเกิดความกลัวในการอาบน้ำ
นี่คือตัวอย่างเหตุการณ์ง่ายๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้โดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ดี ซึ่งเมื่อเกิดแล้วอาจส่งผลให้ลูกน้อยเกิดความกลัว ไม่ไว้วางใจกับการอาบน้ำ ดังนั้นในการอาบน้ำครั้งต่อไปคุณพ่อคุณแม่ควรระมัดระวังลูกน้อยให้มากขึ้น
วิธีฝึกลูกน้อยให้รักการอาบน้ำ 

โดยปกติแล้วเด็กๆ มักจะชอบการอาบน้ำเป็นชีวิตจิตใจ เพราะการอาบน้ำทำให้ลูกน้อยสบายตัว ยิ่งถ้าได้ของเล่นด้วยแล้วล่ะก็ ไม่ยอมขึ้นเลยล่ะทีนี้ แต่การที่ลูกน้อยงอแงไม่ชอบอาบน้ำมีผลมาจากหลายเหตุผล ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มชักชวนลูกน้อยให้เปลี่ยนใจมารักการอาบน้ำได้ ด้วยวิธีง่ายๆ ดังนี้ค่ะ
  1. ให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ ทุกครั้งที่อาบน้ำให้ลูกน้อยคุณพ่อคุณแม่ต้องมีสติอยู่ตลอดเวลา หรือทางที่ดีคุณพ่อคุณแม่ควรช่วยกันอาบน้ำให้ลูกจะดีที่สุด เพื่อในระหว่างที่ท่านหนึ่งประคองลูกอยู่อีกท่านหนึ่งยังสามารถช่วยหยิบสิ่งของอื่นได้ ทำให้ลูกไม่สำลักน้ำ หรือในขณะสระผมให้คอยดูคราบฟองที่อาจไหลเข้าสู่ดวงตาของลูกน้อย ซึ่งในปัจจุบันมีสบู่เหลวที่สามารถใช้อาบน้ำและสระผมได้ พร้อมสูตร No Tears ช่วยให้ไม่เคืองตา และผ่านการทดสอบไฮโป-อัลเลอร์เจนิก ช่วยให้ผิวลูกไม่แพ้อีกด้วย
  2. ให้ลูกชินกับน้ำก่อนอาบจริง น้ำร้อนไปไหมน้ำเย็นไปไหม? คำถามนี้คุณพ่อคุณแม่อาจปล่อยให้ลูกน้อยเป็นผู้ตัดสินก็ได้ เช่น ก่อนจะเปิดน้ำจากฝักบัวราดอาบหรือก่อนหย่อนลูกลงอาบในน้ำอุ่น ลองใช้ฟองน้ำชุบน้ำแล้วนำมาลูบที่ผิวลูกดูก่อนว่าเขามีอาการสะดุ้งหรือไม่ เพื่อให้ลูกได้ชินกับอุณภูมิของน้ำก่อนอาบจริง
  3. บรรยากาศเป็นใจ สร้างความสนุกสนานในการอาบน้ำด้วยของเล่นลอยน้ำต่างๆ หรือเลือกใช้สบู่หรือแชมพูที่มีกลิ่นหอมต่างๆ ให้เลือก นอกจากนี้ในระหว่างอาบน้ำคุณพ่อคุณแม่อาจจะร้องเพลงไปด้วยเพื่อกลบเสียงที่อาจมากวนใจลูกน้อย
  4. อุปกรณ์ก็สำคัญ เนื่องจากผิวของลูกน้อยยังบอบบางแพ้ง่าย ซึ่งนอกจากจะไว้ต่ออุณหภูมิของน้ำแล้ว ยังไว้ต่อสารเคมีอีกด้วย ดังนั้นการที่คุณพ่อคุณแม่ใส่ใจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองการทดสอบ ไฮโป-อัลเลอร์เจนิกจากสหรัฐอเมริกา ว่าไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้* ไม่ระคายเคืองจึงปลอดภัยต่อผิวลูกน้อย จะช่วยให้ลูกน้อยรักการอาบน้ำได้มากยิ่งขึ้น
เพียงเท่านี้เวลาสั้นๆ ในการอาบน้ำที่ลูกน้อยเคยกลัวก็จะหมดไป กลายเป็นเวลาแห่งความสุขระหว่างคุณพ่อคุณแม่และลูกน้อย ช่วยให้ลูกน้อยสดชื่นหลังอาบน้ำได้ตลอดวัน
* ไม่ก่อให้เกิดการแพ้ในกลุ่มทดลอง เว้นแต่การแพ้ส่วนบุคคลหรือการระคายเคือง
รูปประกอบจาก growingupherbal.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น